เมื่อวันที่ 10 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ โดยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานไว้ด้วย สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
โดยเฉพาะในพื้นที่ 41 จังหวัดเสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ดังนี้ น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร เลย พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เลย เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง ชัยภูมิ นครราชสีมา จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ ตราด สกลนคร ขอนแก่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 12 เมษายน 2568
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
วันที่ 13 เมษายน 2568
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน และตาก ภาคกลาง: จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังการจัดงานกลางแจ้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ทั้งนี้ สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมากโดยมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลง เนื่องจากมีฝนตกในบริเวณดังกล่าว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนครนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.